ชื่อโครงการวิจัย :: |
ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกัน
การคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง |
ปีงบประมาณ :: |
2567 |
หัวหน้าโครงการวิจัย :: |
Preceptor 1
|
ผู้ร่วมโครงการวิจัย :: |
กัตติกา วังทะพันธ์
|
แหล่งเงินสนับสนุน :: |
ภายนอก |
งบประมาณโครงการ :: |
20000 |
ประเภทโครงการวิจัย :: |
พรรณนา |
สาขาวิชา :: |
วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ |
ผลการดำเนินงาน :: |
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ |
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่ :: |
ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2567) หน้า 149-166 |
เอกสารงานวิจัย :: |
1 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกัน การคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
|
บทคัดย่อโครงการวิจัย :: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์
คลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์
24 สัปดาห์ขึ้นไป ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน
80 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ภาวะเจ็บครรภ์
คลอดก่อนกำหนด (ค่า KR20 = .68) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และ
แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยค่าความเที่ยง .80 และ .86 ตามลำดับ
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูง
(r= -.656) และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง
(r=.440) กับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 การศึกษา
ในครั้งนี้สรุปได้ว่า หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับความรู้และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพื่อส่งเสริม
พฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้อย่างเหมาะสม |
หน่วยคะแนน :: |
0.6 |