ชื่อโครงการวิจัย :: |
การกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสังคมไทยยุค 4.0 |
ปีงบประมาณ :: |
2563 |
หัวหน้าโครงการวิจัย :: |
ดร.ศิริลักษณ์ ปัญญา
|
ผู้ร่วมโครงการวิจัย :: |
เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง
|
แหล่งเงินสนับสนุน :: |
ภายใน |
งบประมาณโครงการ :: |
15000 |
ประเภทโครงการวิจัย :: |
พรรณนา |
สาขาวิชา :: |
วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
ผลการดำเนินงาน :: |
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ |
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่ :: |
พยาบาลสาร 47 (2) เม.ย.-มิ.ย. 2563, 514-252 |
เอกสารงานวิจัย :: |
|
บทคัดย่อโครงการวิจัย :: |
ยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัวที่เข้ามาแพร่ระบาดในสังคมไทย โดยเฉพาะเยาวชนที่เสมือนเป็นกำลังและสมองของชาติ เนื่องด้วยปัจจุบันเยาวชนของไทยมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งเยาวชนสามารถเข้าสู่สื่อที่อันตรายได้ง่ายโดยต้องยอมรับว่ายุค 4.0 สื่อเป็นสิ่งที่ยากต่อการควบคุมจึงเป็นช่องว่างในการเกิดอาชญากรรมและคดียาเสพติดอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่าเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดมักมีพฤติกรรมที่ไม่เกรงการลงโทษของกฎหมาย ทำให้เกิดเครือข่ายและตั้งกลุ่มโดยใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางก่อความวุ่นวายในสังคม ก่ออาชญากรรมที่รุนแรงขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบมากมายต่อประเทศชาติที่จะต้องเสียกำลังคนและงบประมาณมากมายในการป้องกัน แก้ไข เยียวยา ปัญหาเหล่านี้ โดยเยาวชนที่เคยกระทำผิดเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดหากขาดความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและการยอมรับจากสังคมจะทำให้เกิดความโดดเดี่ยว ส่งผลให้กลับไปคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติดหรือการคบหาสมาคมเพื่อนใหม่หรือเพื่อนจากสถานพินิจ โดยการติดต่อสื่อสารกันผ่านทางโลกออนไลน์ที่ง่ายต่อการยั่วยุให้เกิดการกระทำผิดซ้ำในการซื้อขาย รวมกลุ่มเสพสารเสพติด ดังนั้นการหาแนวทางป้องกันแก้ไขนั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือวางแผนกำหนดมาตรการปฏิบัติร่วมกัน จึงจะช่วยสร้างเยาวชนที่ดีมีศักยภาพเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน |
หน่วยคะแนน :: |
0.6 |