ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    การพัฒนาตำรับอาหารลดหวานมันเค็มสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี
ปีงบประมาณ   ::    2566
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    กาญจนา ปัญญาธร
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    Preceptor 1
Preceptor 2
Preceptor 3
Preceptor 4
ภัสพร โมฆะรัตน์
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    15000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    เชิงปฏิบัติการ
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่   ::    วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี
เอกสารงานวิจัย   ::    การพัฒนาตำรับอาหารลดหวานมันเค็มสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          การวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดบริการอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การพัฒนาตํารับอาหารลดหวานมันเค็ม วิเคราะห์คุณค่าของสารอาหารและประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อตำรับอาหารที่พัฒนา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย โภชนากรและผู้ประกอบอาหารจำนวน 15 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รับการรักษาในตึกผู้ป่วยโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี กลุ่มละ 24 คน รวม 48 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการและแนวทางสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ถึงเมษายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์paired-T test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย 1) สถานการณ์การจัดบริการอาหารพบว่า ผู้ประกอบอาหารมีวิธีการปรุงที่แตกต่างกันทำให้อาหารที่ปรุงสำเร็จมีรสชาติไม่คงที่ ไม่อร่อย มีลักษณะไม่น่ารับประทาน รายการอาหารขาดความหลากหลายผู้ป่วยพึงพอใจต่ออาหารน้อย อาหารที่ผู้ป่วยต้องการรับประทานมากที่สุด ได้แก่ ต้มยำปลานิลน้ำข้น ปลาสามรส ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ผัดไทและสาคูเผือก 2) การพัฒนาตำรับอาหาร ทำโดยคัดเลือกรายการอาหารประเภทคาวหวานและอาหารว่างจาก 40 รายการ จัดเป็น 3 ชุด 3) การวิเคราะห์คุณค่าของอาหารตำรับอาหารที่พัฒนา พบว่า มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตไขมันและโซเดียมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4) การประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อตำรับอาหารที่พัฒนาอยู่ในเกณฑ์พอใจ (¯x= 2.65, S.D= 0.01) สรุป: จากผลการวิจัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำคู่มือประกอบอาหาร จัดรายการอาหารหลายชุดไว้หมุนเวียนกันและพัฒนาทักษะของผู้ประกอบอาหารเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย
หน่วยคะแนน   ::          0.6