บทคัดย่อโครงการวิจัย :: |
การวิจัยแบบบรรยายครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทํางานของหัวใจห้องล่างซ้าย อัตราการกรองของ
ไตก่อนการผ่าตัด ระยะเวลาในการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม กับภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จํานวน 88 คน เลือกแบบจําเพาะเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงพฤษภาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล บันทึกข้อมูลด้านร่างกาย การรักษา และภาวะแทรกซ้อน เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาด้วย Content validity index (CVI) ได้ 0.84 และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha) ได้ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman‘s Rank correlations coefficient)
ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.91 อายุเฉลี่ย 61.22 ปี (SD 7.93) ดัชนีมวลกายเฉลี่ย
23.10 Kg/sq.m. (SD 3.16) การทํางานของหัวใจห้องล่างซ้ายมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.49 (SD 12.64) อัตราการกรองของไตก่อนการผ่าตัด, ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด, ระหว่าง 24-48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด มีค่าเฉลี่ย 77.40, 70.51 และ 68.48 ml/min/1.73 sq.m (SD 18.66, 28.90 และ 24.21 ตามลําดับ) ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ เฉลี่ย 28.63 ชั่วโมง
(SD 14.94) ระยะเวลาการใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม เฉลี่ย 74.58 นาที (SD 36.65) คะแนนภาวะแทรกซ้อน เฉลี่ย 2.77
ระบบ (SD 0.44) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ร้อยละ 93.18 การวิเคราะห์พบว่า ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ํากับภาวะแทรกซ้อนสําคัญหลังผ่าตัด (r = 0.406, p < 0.01) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ |