ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    ผลลัพธ์ของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี : การวิจัยเชิงผสมผสาน
ปีงบประมาณ   ::    2564
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    กาญจนา ปัญญาธร
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    Preceptor 1
Preceptor 2
Preceptor 3
พวงผกา อินทร์เอี่ยม
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    35000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    เชิงปฏิบัติการ
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่   ::    วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 40 ฉบับที่ 1มกราคม – มีนาคม 2565
เอกสารงานวิจัย   ::    ผลลัพธ์ของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี : การวิจัยเชิงผสมผสาน
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/253065/172632 การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed-Methods) เพื่อศึกษาผลลัพธ์และปัจจัยความสำเร็จ ความล้มเหลวของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรที่มีภาวะอ้วนลงพุง โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้จัดกิจกรรมโครงการ 6 คนและบุคลากรที่มีภาวะอ้วนลงพุง 47 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามการสนทนากลุ่ม การชั่งนำ้หนัก วัดรอบเอวและแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เครื่องมือผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Wilcoxon signed-rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย บุคลากรที่มีภาวะอ้วนลงพุงร้อยละ 8.51 ลดนำ้หนักได้ตามเป้าหมาย (นำ้หนักลดลง ≥6 กิโลกรัมภายใน 6 เดือน) มีค่าเฉลี่ยของนำ้หนักหนักลดลงจากเดิม 8.41 กิโลกรัมและค่าเฉลี่ยของรอบเอวลดลงจากเดิม 10.75 เซนติเมตร ร้อยละ 91.49 ไม่สามารถลดนำ้หนักตามเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยของนำ้หนักเพิ่มขึ้นจากเดิม 0.40 กิโลกรัมแต่มีค่าเฉลี่ยของรอบเอวลดลงจากเดิม 2.43 เซนติเมตร เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มที่ลดนำ้หนักได้ตามเป้าหมายมีนำ้หนักและรอบเอวลดลงแต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่ไม่สามารถลดนำ้หนักได้ตามเป้าหมายมีรอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการลดนำ้หนักและรอบเอว มาจากหน่วยงานมีนโยบายชัดเจนมีรางวัลเป็นแรงจูงใจ บุคลากรมีความตั้งใจ มีวินัย ตั้งเป้าหมายชัดเจนและปฏิบัติตามหลักการ 3 อ. ของกรมอนามัยอย่างสมำ่เสมอ ผู้บังคับหน่วยและผู้ร่วมงานให้กำลังใจ กระตุ้นเตือนและชื่นชมความสำเร็จ มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย มีการจำหน่ายอาหารพลังงานต่ำ มีสื่อสังคมกระตุ้นและมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยแห่งความล้มเหลวมีทั้งด้านบุคคลและสังคมสิ่งแวดล้อม จากผลการวิจัยหน่วยงานควรสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรเพื่อลดอ้วนลดพุงและติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
หน่วยคะแนน   ::          0.6