ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ของชุมชนจังหวัดอุดรธานี
ปีงบประมาณ   ::    2564
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    กาญจนา ปัญญาธร
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    Preceptor 1
Preceptor 2
Preceptor 3
Preceptor 4
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายนอก
งบประมาณโครงการ   ::    30000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    พรรณนา
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่   ::    วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มีนาคม 2565
เอกสารงานวิจัย   ::    สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ของชุมชนจังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/252538/172624 การวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาสถานการณ์ การดูแลและปัญหาความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ของชุมชนจังหวัดอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 70 คน ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง 12 คนและแกนนำในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของชุมชน18 คน รวม 30 คน และผู้ให้ข้อมูลรองเป็นผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง จำนวน 40 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามการสนทนากลุ่มและแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ผู้ป่วยติดเตียง 40 คนมีข้อติดจำนวน 9 คน (ร้อยละ 22.5) และมีแผลกดทับจำนวน 5 คน (ร้อยละ 12.5) ผู้ดูแลในครอบครัว 12 คน ขาดความรู้และทักษะจำเป็นจำนวน 3 คน (ร้อยละ 25) และจัดการขยะติดเชื้อไม่เหมาะสม 4 คน (ร้อยละ 33.33) การรับรู้ความเสี่ยงต่อโรค COVID-19 ชุมชนรับรู้ว่าผู้ป่วยติดเตียงมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ สาเหตุจากร่างกายอ่อนแอและภูมิต้านทานโรคตำ่การดูแลผู้สูงอายุป่วยติดเตียง การดูแลโดยครอบครัว ร้อยละ 16.67 สมาชิกครอบครัวให้การดูแลน้อย ส่วนการดูแลโดยชุมชนผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลจากบุคคล 4 กลุ่ม คือ บริบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและชุมชน ปัญหาที่พบคือ กิจกรรมการดูแลแต่ละกลุ่มทับซ้อนกัน ครอบครัวมีความตระหนักน้อยหวังพึ่งพิงชุมชนไม่พึ่งตนเอง ผู้ดูแลขาดความรู้ ทักษะจำเป็น ได้รับสวัสดิการไม่เหมาะสมและขาดอุปกรณ์จำเป็น ชุมชนต้องการให้ครอบครัวดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยติดเตียง ทีมสหวิชาชีพจัดการกับปัญหารอบด้าน สนับสนุนอุปกรณ์จำเป็นและสวัสดิการที่เหมาะสม จากผลการวิจัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาระบบบริการผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงของชุมชน กำหนดบทบาทผู้ดูแลที่ชัดเจน และสนับสนุนสิ่งจำเป็นตามความต้องการของชุมชน
หน่วยคะแนน   ::          0.6