ชื่อโครงการบริการวิชาการ :: |
วัยรุ่นยุคใหม่ ไม่ติดเกม |
ปีงบประมาณ :: |
2558 |
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ :: |
ระพีพรรณ ลาภา (62)
|
ผู้ร่วมโครงการ :: |
ดร.นิภาธร ไวท์วิทย์ริยะกุล ดร.ศิริลักษณ์ ปัญญา
|
แหล่งเงินสนับสนุน :: |
ภายใน |
งบประมาณโครงการ :: |
10600 บาท |
บูรณาการกับการเรียนการสอน :: |
1) 822210 การพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
|
บูรณาการกับงานวิจัย :: |
|
ไฟล์เอกสารงานบริการ :: |
|
รายละเอียดเพิ่มเติม :: |
สถานที่:โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จ.อุดรธานี
รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการบริการวิชาการ
ชื่อโครงการ วัยรุ่นยุคใหม่ ไม่ติดเกม
ผู้รับผิดชอบ คณาจารย์สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
วันที่จัดกิจกรรม ๓ กันยายน ๒๕๕๘ และวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘
สถานที่จัด โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร ต.หนองบัว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี
การบรรลุวัตถุประสงค์
๑. ได้ให้บริการวิชาการแก่สังคม แก่ชุมชน
๒. ครู และนักเรียน เกิดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาเด็กติดเกมและผลกระทบจากปัญหาการติดเกมในวัยรุ่น
๓. ได้ทำการคัดกรองปัญหาเด็กติดเกมในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น ๓๘๗ คน
๔. มีการบูรณาการกิจกรรมโครงการเข้ากับการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชในเรื่องการจัดกิจกรรมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน
๕. นักศึกษาเกิดจิตสำนึกด้านความเสียสละมีจิตสาธารณะ
๖. นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ในอนาคต
๗. นักศึกษามีการทำงานร่วมกันเป็นทีม และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
ผลที่ได้จากการดำเนินการ
๑. นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขาภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนในรายวิชาปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
๒. ครู และผู้บริหารสถานศึกษามีความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการติดเกมของวัยรุ่นและได้ทราบถึงสถานการณ์เด็กติดเกมในสถานศึกษา
๓. นักเรียนได้ตระหนักถึงผลกระทบของการติดเกม และทราบแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเกม
วิธีการดำเนินการ(PDCA)
๑.ขั้นการวางแผน มีการสำรวจความต้องการให้บริการวิชาการแก่สังคม สรุปการสำรวจความต้องการและนำมาวางแผนการให้บริการวิชาการ แต่งตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ
๒.ขั้นดำเนินการ (DO) มีการดำเนินการดังนี้
๒.๑ ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการให้บริการ
๒.๒ ประสานงานกับพื้นที่ในการให้บริการ
๒.๓ ดำเนินการตามแผนที่วางไว้รวมทั้งการจัดกิจกรรม
๒.๔ ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
๓. ขั้นการประเมินผลมีการดำเนินการดังนี้
๓.๑ ประชุมคณะกรรมกาที่เกี่ยวข้องเพื่อประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
๓.๒ สรุปผลการประเมินโครงการและกิจกรรม และข้อสรุปความรู้ที่ได้รับและการนำผลการประเมินไปปรับปรุง
๔. ขั้นปรับปรุง
๔.๑ นำผลการประเมินรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคไปปรับปรุงการดำเนินการให้บริการ ครั้งต่อไปหรือปีการศึกษาต่อไป
การประเมินการให้บริการวิชาการครั้งที่ ๑ ที่โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร
สรุปการดำเนินโครงการ
ครั้งที่ ๑
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคม
๒. เพื่อบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและงานวิจัย
๓.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภายนอกในการให้บริการวิชาการแก่สังคม
๔.เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
การให้บริการ
๑.ให้ความรู้เรื่องสถานเด็กติดเกม ผลกระทบ และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม
๒. ทำการคัดกรองปัญหาเด็กติดเกมให้แก่เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1
๓. จัดกิจกรรมนันทนาการให้แก่เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ผลการให้บริการ จากการจัดกิจกรรมโครงการโดยแบ่งจัดเป็นสองครั้ง มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน ๓๘๗ คน เป็นชาย ๑๘๐ คน หญิง ๒o๗ คน จากการคัดกรองปัญหาเด็กติดเกมโดยใช้แบบทดสอบการติดเกมฉบับเด็กและวัยรุ่น (Game Addiction Screening Test-GAST: Child and Adolescent Version) ซึ่งพัฒนาโดยสาถาบันจิตเวชเด็กราชนครินทร์ พบว่า เด็กหญิงมีพฤติกรรมการเล่นเกมอยู่ในระดับปกติ (ไม่มีปัญหาในการเล่นเกม) จำนวน ๑๖๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๙.๗ มีพฤติกรรมการเล่นเกมอยู่ในระดับคลั่งไคล้ (เริ่มมีปัญหาในการเล่นเกม) จำนวน ๒๗ คน ติดเป็นร้อยละ ๑๓.๐ และมีพฤติกรรมการเล่นเกมอยู่ในระดับน่าจะติดเกมจำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๒ ขณะที่เด็กชายมีพฤติกรรมการเล่นเกมอยู่ในระดับปกติจำนวน ๑๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๘ มีพฤติกรรมการเล่นเกมอยู่ในระดับคลั่งไคล้จำนวน ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘ และมีพฤติกรรมการเล่นเกมอยู่ในระดับที่น่าจะติดเกมจำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๔ เกมที่นักเรียนหญิงส่วนใหญ่เล่นเป็นเกมที่เล่นในเฟสบุคโดยเล่นผ่านโทรศัพท์มือถือ และเกมที่นักเรียนชายส่วนใหญ่เล่นเป็นเกมออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ โดยเล่นผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและเล่นในร้านเกม
ปัญหาที่พบและแนวทางการปรับปรุง
1. การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากทำให้ไม่สามารถควบคุมการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมด กล่าวคือ ในด้านนักศึกษาที่ไปช่วยจัดกิจกรรม การมีจำนวนนักศึกษามากเกินไปจำเป็นต้องมีการแบ่งหน้าที่การทำงานออกเป็นหลายด้าน ทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการเรียนรู้งานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมให้ครบทุกด้าน รวมถึงไม่ได้ใช้ทักษะด้านต่างๆอย่างเต็มที่ และในด้านนักเรียนที่เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมการมีนักเรียนจำนวนมากทำให้การการควบคุมเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเป็นไปได้ยาก บางกิจกรรมใช้เวลาน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเช่นกิจกรรมระดมสมองและนำเสนอความรู้ และบางกิจกรรมนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้ไม่ทั่วถึงเช่นการตอบคำถามชิงรางวัล
แนวทางการปรับปรุง
ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ควรจัดกลุ่มในการทำกิจกรรมให้เล็กลงทั้งจำนวนนักศึกษาที่ไปช่วยจัดกิจกรรมและจำนวนนักเรียนที่เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการเรียนรู้การจัดกิจกรรมอย่างครอบคลุมและใช้ทักษะให้ครบทุกด้าน และเพื่อให้สามารถควบคุมเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและบรรลุตามเป้าหมายของการจัดกิจกรรม อีกทั้งจะทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้การกำหนดขนาดของกลุ่มขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรม และข้อจำกัดด้านระยะเวลาในการจัดกิจกรรมของทั้งผู้จัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2. นักเรียนบางส่วนไม่ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเพราะกลัวจะมีผลกระทบต่อคะแนนการเรียนและคะแนนพฤติกรรมถึงแม้จะได้รับการชี้แจงจากผู้จัดกิจกรรมแล้ว
แนวทางการปรับปรุง
ให้ครูในโรงเรียนเป็นผู้ชี้แจงให้นักเรียนทราบว่าการให้ข้อมูลต่างๆไม่มีผลต่อคะแนนทางการเรียน เนื่องจากในด้านผลการเรียนนักเรียนจะมีความเชื่อถือครูในโรงเรียนมการนำความรู้ที่ได้มาบูรณการการเรียนการสอน
นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในเรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตในชุมชน การคัดกรองปัญหา และการสร้างสัมพันธภาพซึ่งนักศึกษาสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ
๑. ควรจัดกิจกรรมให้กระชับไม่เสียเวลาในการเรียน
๒. ควรมีรางวัลแจกให้มากกว่านี้
๓. อยากให้มาจัดกิจกรรมอีกแต่ให้เป็นกิจกรรมอื่นที่หลากหลาย
๔. อยากให้จัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียน
านด้านการพยาบาลได้ในอนาคต
ากกว่าบุคคลภายนอก
|