ชื่อโครงการบริการวิชาการ :: |
ทักษะชีวิตพิชิตยาเสพติด |
ปีงบประมาณ :: |
2558 |
หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ :: |
ระพีพรรณ ลาภา (62)
|
ผู้ร่วมโครงการ :: |
ดร.นิภาธร ไวท์วิทย์ริยะกุล ดร.ศิริลักษณ์ ปัญญา
|
แหล่งเงินสนับสนุน :: |
ภายใน |
งบประมาณโครงการ :: |
10600 บาท |
บูรณาการกับการเรียนการสอน :: |
1) 822210 การพยาบาลสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
|
บูรณาการกับงานวิจัย :: |
|
ไฟล์เอกสารงานบริการ :: |
|
รายละเอียดเพิ่มเติม :: |
สถานที่:บ้านเด็กหญิง อุดรธานี
รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการบริการวิชาการ
ชื่อโครงการ ทักษะชีวิต พิชิตยาเสพติด
ผู้รับผิดชอบ คณาจารย์สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
วันที่จัดกิจกรรม ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐
สถานที่จัด สถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี ต.โนนสูง อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี
การบรรลุวัตถุประสงค์
๑. ได้ให้บริการวิชาการแก่สังคม แก่ชุมชน
๒. วัยรุ่นกลุ่มเป้าหมายในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงเกิดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดและผลกระทบ
๓. วัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ฯได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการปฏิเสธยาเสพติด
๔. มีการบูรณาการกิจกรรมโครงการเข้ากับการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชในเรื่องการจัดกิจกรรมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน
๕. นักศึกษาเกิดจิตสำนึกด้านความเสียสละมีจิตสาธารณะ
๖. นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ในอนาคต
๗. นักศึกษามีการทำงานร่วมกันเป็นทีม และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
ผลที่ได้จากการดำเนินการ
๑. นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขาภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนในรายวิชาปฏิบัติการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
๒. ครู และผู้บริหารสถานสงเคราะห์ได้ตระหนักถึงปัญหายาเสพติดและความสำคัญของการเสริมสร้างทักษะชีวิตให้แก่เด็กในสาถนสงเคราะห์เพื่อเป็นเกราะป้องกันยาเสพติด
๓. วัยรุ่นในสถานสงเคราะห์ได้รับการเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการป้องกันยาเสพติดและได้เข้าร่วมทำกิจกรรมสันทนาการที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย
วิธีการดำเนินการ(PDCA)
๑.ขั้นการวางแผน มีการสำรวจความต้องการให้บริการวิชาการแก่สังคม สรุปการสำรวจความต้องการและนำมาวางแผนการให้บริการวิชาการ แต่งตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ
๒.ขั้นดำเนินการ (DO) มีการดำเนินการดังนี้
๒.๑ ประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการให้บริการ
๒.๒ ประสานงานกับพื้นที่ในการให้บริการ
๒.๓ ดำเนินการตามแผนที่วางไว้รวมทั้งการจัดกิจกรรม
๒.๔ ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
๓. ขั้นการประเมินผลมีการดำเนินการดังนี้
๓.๑ ประชุมคณะกรรมกาที่เกี่ยวข้องเพื่อประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
๓.๒ สรุปผลการประเมินโครงการและกิจกรรม และข้อสรุปความรู้ที่ได้รับและการนำผลการประเมินไปปรับปรุง
๔. ขั้นปรับปรุง
๔.๑ นำผลการประเมินรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคไปปรับปรุงการดำเนินการให้บริการ ครั้งต่อไปหรือปีการศึกษาต่อไป
การประเมินการให้บริการวิชาการครั้งที่ ๑ ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิง อุดรธานี
สรุปการดำเนินโครงการ
ครั้งที่ ๑
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้บริการวิชาการแก่สังคม
๒. เพื่อบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและงานวิจัย
๓.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภายนอกในการให้บริการวิชาการแก่สังคม
๔.เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
การให้บริการ
๑. ให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและผลกระทบ
๒. ให้ความรู้เรื่องทักษะการปฏิเสธยาเสพติดและฝึกทักษะการปฏิเสธโดยการแสดงบทบาทสมมติ
๓. กิจกรรมนันทนาการ และตอบคำถามชิงรางวัล
ผลการให้บริการ มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 92 คน เป็นนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนส่วนใหญ่มีความสนใจและให้ความร่วมมือในกิจกรรมเป็นอย่างดี และจากการตอบคำถามชิงรางวัลในช่วงท้ายของกิจกรรมแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้ตระหนักในปัญหายาเสพติด และได้รับความรู้ เพิ่มพูนทักษะชีวิตที่จำเป็นในการป้องกันยาเสพติด
ปัญหาที่พบและแนวทางการปรับปรุง
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงอุดรธานี ทำให้มีข้อจำกัดหลายประการซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้การจัดกิจกรรมไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ได้ทั้งหมดข้อจำกัดต่างๆมีดังนี้
1. การจัดกิจกรรมในสถานสงเคราะห์ฯสามารถทำได้เฉพาะในวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่างๆ เพราะในวันปกติเด็กในสถานสงเคราะห์ฯต้องไปโรงเรียน และในวันหยุดที่สามารถจัดกิจกรรมได้ ก็มักมีหน่วยงานต่างๆมาจัดกิจกรรมให้อยู่เสมอ ขณะเดียวกันเด็กต้องการเวลาในการจัดการธุระส่วนตัว เช่นซักผ้า ทำงานบ้านหรือทำการบ้าน ทำให้เด็กบางส่วนไม่อยากมาเข้าร่วมกิจกรรมเพราะรู้สึกเหนื่อยล้า
1. ตามระเบียบของสถานสงเคราะห์ การจัดกิจกรรมต้องอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์ฯซึ่งจะเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ขณะทำกิจกรรมด้วย ทำให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริงเมื่อถูกถามถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเนื่องจากกลัวถูกหักคะแนนความประพฤติซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสถานสงเคราะห์ฯตามมา
1. การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่และถูกจำกัดด้วยตารางเวลาการทำกิจกรรมของสถานสงเคราะห์ฯทำให้ไม่สามารถจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้ตามแผนที่วางไว้
แนวทางการปรับปรุง
หลีกเลี่ยงการเข้าไปจัดกิจกรรมในสถานสงเคราะห์ เช่นเปลี่ยนไปจัดในโรงเรียนซึ่งเด็กจากสถานสงเคราะห์ส่วนใหญ่ไปเรียน จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมได้ในวันปกติซึ่งไม่เป็นการรบกวนเวลาส่วนตัวของเด็ก ขณะเดียวกันจะทำให้เด็กมีอิสระด้านการตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นและเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่ไม่ได้อยู่ในสถานสงเคราะห์ได้เข้าร่วมกิจกรรม
การนำความรู้ที่ได้มาบูรณการการเรียนการสอน
นักศึกษาได้รับประสบการณ์ในเรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตในชุมชน การคัดกรองปัญหา และการสร้างสัมพันธภาพซึ่งนักศึกษาสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลได้ในอนาคต
ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม
๑. อยากให้ไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียน ในเวลาเรียน
๒. ควรมีรางวัลแจกให้มากกว่านี้
๓. อยากให้มาจัดกิจกรรมอีกแต่ให้เป็นกิจกรรมอื่นที่หลากหลาย
๔. อยากให้จัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียน
|