ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    ผลของกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้และทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น
ปีงบประมาณ   ::    2566
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    สุภาพักตร์ หาญกล้า
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    กัตติกา วังทะพันธ์
ดร.สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล
นงนุช บุญมาลา
วรนุช ไชยวาน
อัญชลี อ้วนแก้ว
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    15000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    พรรณนา
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่   ::    วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี
เอกสารงานวิจัย   ::   
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติของวัยรุ่นที่มีผลต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และเพื่อเปรียบเทียบผลของกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่มีต่อความรู้และทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นนักเรียนที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ครบตามกำหนด ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 58 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวน 8 กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.75 3) ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 4) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 5) ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired T-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 58 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.1 อายุอยู่ระหว่าง 14-16 ปี มีแฟนแล้วร้อยละ 44.8 และเคยใช้วิธีการคุมกำเนิดร้อยละ 32.8 ก่อนการทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำและปานกลาง คะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำ คะแนนทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดอยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำ คะแนนทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และทัศนคติต่อการคุมกำเนิด ก่อนและหลังการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนความรู้เรื่องการคุมกำเนิดหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p=0.006 สรุปให้เห็นว่ากิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สามารถพัฒนาความรู้เรื่องการคุมกำเนิดได้
หน่วยคะแนน   ::          0.6