ชื่อโครงการวิจัย :: |
การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง |
ปีงบประมาณ :: |
2566 |
หัวหน้าโครงการวิจัย :: |
กาญจนา ปัญญาธร
|
ผู้ร่วมโครงการวิจัย :: |
จุฑารัตน์ เสาวพันธ์ ณัฐวรรณ ชัยมีเขียว ดร.รวีวรรณ เผ่ากัณหา
|
แหล่งเงินสนับสนุน :: |
ภายใน |
งบประมาณโครงการ :: |
15000 |
ประเภทโครงการวิจัย :: |
พรรณนา |
สาขาวิชา :: |
วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน |
ผลการดำเนินงาน :: |
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ |
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่ :: |
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี |
เอกสารงานวิจัย :: |
|
บทคัดย่อโครงการวิจัย :: |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ การพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวและชุมชน ในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียงและผลลัพธ์ของการพัฒนา ดำเนินการในพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 ถึงพฤษภาคม 2565 ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นแกนนำสุขภาพครอบครัว 30 คนและแกนนำสุขภาพชุมชน 27 คน รวม 57 คน และผู้ให้ข้อมูลรองเป็นผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง 30 คน รวมทั้งสิ้น 87 คน กระบวนการวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะ คือ การวางแผนกระบวนการพัฒนา การสังเกตผลและการสะท้อนกลับ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม ประชุมเชิงปฏิบัติการและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา paired T- test และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย สถานการณ์ผู้ป่วยติดเตียงมีข้อติดร้อยละ 23.33 แผลกดทับร้อยละ 13.33 การดูแลของครอบครัวผู้ดูแลขาดความรู้ ขาดทักษะการดูแลและขาดอุปกรณ์จำเป็น ขาดคนช่วยเหลือและการจัดสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม การดูแลของชุมชนโดยบริบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชนกิจกรรมมีความทับซ้อนกัน ครอบครัวหวังพึ่งชุมชนไม่พึ่งตนเอง ได้แนวทางการพัฒนาแกนนำสุขภาพครอบครัวเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การประเมินปัญหา การประชุมเชิงปฏิบัติการ ฝึกปฏิบัติและ การเยี่ยมบ้านและการพัฒนาแกนนำสุขภาพชุมชน ประกอบด้วย การฝึกวิเคราะห์ปัญหา เขียนโครงการ สร้างข้อตกลงของชุมชนและการเยี่ยมบ้าน ผลลัพธ์ของการพัฒนา แกนนำสุขภาพครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น (ก่อนพัฒนา x̄= 20.00±0.71 หลังพัฒนาx̄= 26.53±1.41) และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้น (ก่อนพัฒนา x̄= 25.67±0.41 และหลังพัฒนา x̄= 32.80 ±0.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p‹ 0.01) ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น แกนนำสุขภาพชุมชนมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นด้านการวิเคราะห์ปัญหา การเขียนโครงการ เกิดข้อตกลงของชุมชนและเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยติดเตียง |
หน่วยคะแนน :: |
0.6 |