ชื่อโครงการวิจัย :: |
ความเครียด ความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าและภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด |
ปีงบประมาณ :: |
2566 |
หัวหน้าโครงการวิจัย :: |
ดร.สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล
|
ผู้ร่วมโครงการวิจัย :: |
ณัฎฐากุล บึงมุม สุภาพักตร์ หาญกล้า อัญชลี อ้วนแก้ว
|
แหล่งเงินสนับสนุน :: |
ภายใน |
งบประมาณโครงการ :: |
50000 |
ประเภทโครงการวิจัย :: |
พรรณนา |
สาขาวิชา :: |
วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ |
ผลการดำเนินงาน :: |
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ |
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่ :: |
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2566 |
เอกสารงานวิจัย :: |
1 ความเครียด ความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า และภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด
|
บทคัดย่อโครงการวิจัย :: |
การวิจัยครั้้งนี้้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่่อศึกษาความชุุกและความสอดคล้องของ
ผลการประเมิน ความเครียด ความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าและภาวะซึมเศร้าในมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง
เป็นมารดาในระยะ48–72 ชั่่วโมงหลังคลอด โรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร จำนวน 76 คน เครื่องมือ
การวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมููลทั่วไป แบบประเมินความเครียด 5 คำถาม (ST-5) มีค่า
ความเชื่อมั่่น .73 แบบประเมินความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) มีค่าความเชื่อมั่น .75 และ
แบบประเมิน ภาวะซึมเศร้า9 คำถาม (9Q) มีค่าความเชื่อมั่น .82เก็บรวบรวมข้อมูลในช่่วงเดือนพฤษภาคม
ถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้์อมููลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ และ weighted kappa
ผลการวิจัยพบว่า1) มารดาหลังคลอดมีความเครียดในระดับปานกลางถึงระดบมาก คิดเป็นร้อยละ
11.84 มีีความเสี่่ยงเป็็นโรคซึึมเศร้้า คิิดเป็็นร้้อยละ11.84และมีีภาวะซึมเศร้าในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง
คิดเป็นร้อยละ10.53และ2) ผลการประเมิน ความเครียดไม่มีความสอดคล้องกับผลการประเมิน ความเสี่ยง
เป็นโรคซึมเศร้าและผลการประเมิน ภาวะซึมเศร้้า (weighted kappa = -.063, 95% CI = -.154–.028
และ weighted kappa = .131, 95% CI = -.143–.405 ตามลำำดัับ) และผลการประเมิน ความเสี่ยงเป็น
โรคซึมเศร้าไม่มีความสอดคล้องกับผลการประเมินภาวะซึมเศร้้า (weightedkappa = -.002,95% CI =
-.059–.055) |
หน่วยคะแนน :: |
0.8 |