ชื่อโครงการวิจัย :: |
การใช้เมทแอมเฟตามีนและความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ |
ปีงบประมาณ :: |
2566 |
หัวหน้าโครงการวิจัย :: |
ดร.สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล
|
ผู้ร่วมโครงการวิจัย :: |
กัตติกา วังทะพันธ์ อัญชลี อ้วนแก้ว
|
แหล่งเงินสนับสนุน :: |
ภายใน |
งบประมาณโครงการ :: |
50000 |
ประเภทโครงการวิจัย :: |
พรรณนา |
สาขาวิชา :: |
วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ |
ผลการดำเนินงาน :: |
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ |
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่ :: |
วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 ประจําเดือน กันยายน – ธันวาคม 2566 |
เอกสารงานวิจัย :: |
1 การใช เมทแอมเฟตามีนและความเครียดในหญิงตั้งครรภ!
|
บทคัดย่อโครงการวิจัย :: |
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความชุกของการใช้เมทแอมเฟตามีน 2) ความเครียด และ 3)
เปรียบเทียบความเครียดของหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้และไม่ใช้เมทแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ใน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแห่งหนึ่งในเขตอําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีจํานวน 289 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถาม
และแบบประเมินความเครียด 20 ข้อ แบ่งความเครียดออกเป็น 4 ระดับ คือระดับน้อย ระดับปานกลาง มาก และรุนแรง
ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
สถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 289 คน มีอายุระหว่าง 20 - 34 ปีร้อยละ 65.1 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 92.0
จบมัธยมศึกษาร้อยละ 41.9 อาชีพเกษตรกรรม/รับจ้างร้อยละ 46.7 ไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ร้อยละ 21.5 ไม่ได้รับข้อมูลเรื่อง
ผลกระทบของสารเสพติดร้อยละ 17.0 มีประวัติเคยใช้เมทแอมเฟตามีนร้อยละ 17.6 และขณะตั้งครรภ์ใช้เมทแอมเฟตามีน
ร้อยละ 7.3 มีความเครียดระดับน้อยมากร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นระดับมากร้อยละ 38.4 กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้
เมทแอมเฟตามีนและใช้ในขณะตั้งครรภ์ (กลุ่ม 1) มีสัดส่วนความเครียดระดับมากมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
(กลุ่ม 2) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) คะแนนเฉลี่ยความเครียดในกลุ่ม 1 ที่ใช้เมทแอมเฟตามีนในอดีตและปัจจุบัน
มากกว่ากลุ่ม 2 ที่ไม่เคยใช้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) |
หน่วยคะแนน :: |
0.6 |