ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    ความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง
ปีงบประมาณ   ::    2566
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    ดร.สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::    สุภาพักตร์ หาญกล้า
อัญชลี อ้วนแก้ว
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    50000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    พรรณนา
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
ผลการดำเนินงาน   ::    ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่   ::    วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ ปีที่ 46 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) 2566
เอกสารงานวิจัย   ::    ความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::          การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ เปรียบเทียบความเครียดกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิง ตั้งครรภ์แรก 88 คน หญิงตั้งครรภ์หลัง 87 คน ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล อ�ำเภอเมือง อุดรธานีระหว่างเดือนกันยายน 2565 ถึงเมษายน 2566 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเครียด ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรวัด 4 ระดับ ตั้งแต่ไม่เคยถึงเป็นประจ�ำ แบ่งความเครียดออกเป็น 4 ระดับคือ ระดับน้อยจนถึงระดับรุนแรง และ 2) แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ6 ด้าน ตามกรอบแนวคิด ของ Pender มีมาตรวัด 5 ระดับ ตั้งแต่ไม่เคยถึงเป็นประจ�ำ แบ่งพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพออกป็น 3 ระดับ คือ ดีปานกลางและไม่ดีแบบประเมินความเครียดและแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .98 และ .95 ตามล�ำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ เปรียบเทียบด้วยการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า ครรภ์แรกส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับปานกลาง รองลงมาเป็นระดับมากและ ระดับน้อย (ร้อยละ 53.4, 31.8 และ 12.5 ตามล�ำดับ) ครรภ์หลังส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับปานกลาง รองลงมาเป็นระดับมากและระดับรุนแรง(ร้อยละ 46.0, 42.5 และ 8.1ตามล�ำดับ)ครรภ์แรกส่วนใหญ่มีพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีรองลงมาเป็นระดับปานกลาง และระดับไม่ดี(ร้อยละ 48.9, 42.0 และ 9.1 ตามล�ำดับ) ครรภ์หลังส่วนใหญ่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาเป็นระดับดีและ ระดับไม่ดี(ร้อยละ 47.1, 36.8 และ 16.1 ตามล�ำดับ)ส่วนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้าน ทั้ง 6 ด้าน ทั้งสอง กลุ่มส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีรองลงมาเป็นระดับปานกลาง ครรภ์หลังมีค่าเฉลี่ยความเครียดมากกว่าครรภ์แรก อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ(p<.05, 95% CI-7.831, -.356) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมและ รายด้าน ทั้ง 6 ด้าน ครรภ์แรกมากกว่าครรภ์หลังเล็กน้อย แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ สรุปว่าครรภ์หลังมีความเครียดมากกว่าครรภ์แรก สัดส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเครียดในระดับมากถึงระดับรุนแรง ของทั้งสองกลุ่มค่อนข้างสูง และมากกว่าครึ่งของทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับปานกลางถึง ระดับไม่ดีจึงควรคัดกรองความเครียดและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของทั้งสองกลุ่มทุกครั้งที่ให้บริการ รับฝากครรภ์รายที่ผิดปกติควรให้การดูแลช่วยเหลือ ส่งต่อในเพื่อการดูแลที่เหมาะสมต่อไป
หน่วยคะแนน   ::          0.6