ข้อมูลโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยราชธานี

          

ข้อมูลโครงการวิจัย
ชื่อโครงการวิจัย   ::    ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ปีงบประมาณ   ::    2564
หัวหน้าโครงการวิจัย   ::    กาญจนา ปัญญาธร
ผู้ร่วมโครงการวิจัย   ::   
แหล่งเงินสนับสนุน   ::    ภายใน
งบประมาณโครงการ   ::    25000
ประเภทโครงการวิจัย   ::    พรรณนา
สาขาวิชา   ::    วิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
ผลการดำเนินงาน   ::    อยู่ระหว่างการตีพิมพ์ เผยแพร่
ผลการตีพิมพ์เผยแพร่   ::    วารสารการแพทย์โารงพยาบาลอุดรธานี
เอกสารงานวิจัย   ::    ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ตําบลเชียงพิณ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อโครงการวิจัย   ::           การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีจำนวน 215 คน เครื่องมือเป็นแบบทดสอบความรู้ ค่าความเชื่อมั่น .72 และแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ค่าความเชื่อมั่น.81 และพฤติกรรมการป้องกันโรค โควิด19ค่าความเชื่อมั่น.92 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ61.2 มีความรู้ระดับปานกลาง รองลงมาคือระดับน้อยร้อยละ28.3 และมีความรู้ระดับดีเพียงร้อยละ 10.5 2) การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ร้อยละ 38.50 คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโควิด19ระดับปานกลางและร้อยละ 91.50 กลัวการติดโรค ภาพรวมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด19อยู่ในระดับมาก ((x ) ̅3.66,S.D.26) และ3) พฤติกรรมการป้องกันโรค โควิด19ภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก ((x ) ̅ 3.85, S.D .23) โดยมีการปฏิบัติมากตามลำดับ คือ การปฏิบัติบทบาทของอสม. ((x ) ̅3.90, S.D .28) การเว้นระยะห่างทางสังคม ((x ) ̅3.85, S.D .32) และการดูแล สุขวิทยาส่วนบุคคล ((x ) ̅3.84, S.D .22) จากผลการวิจัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรพิจารณาจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด19แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงและความกลัวการเกิดโรค พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเป็นแบบอย่างในการดูแลตนเองแก่ประชาชนและปฏิบัติบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยคะแนน   ::